ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นับว่าเป็นยุคเปลี่ยนผ่านสำหรับการทหาร
ที่เปลี่ยนรูปแบบจากแบบโบราณ
ไปสู่การทหารสมัยใหม่ตามแบบยุโรป
แต่ในสมัยแรก ๆ นั้น ไทยยังคงใช้คำสั่งต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ
แต่เนื่องจากยังไม่คุ้นชิน สำเนียงเลยออกไปไทยซะมากกว่า
ไปดูกันเลยครับ ว่ามีอะไรบ้าง
- โลด = load (บรรจุ)
- เรดี = ready (เตรียมยิง)
- แฟยะ = fire (ยิง)
- ซิษสะแฟยะริง = cease firing (หยุดยิง)
- แจนจะฟะโรน = change front (เปลี่ยนตำแหน่งยืน)
- กวิกมาจ์ = quick march
- เรกเฟ เตกโปษ แอดเกิน กวิกมาจ์ = Right Face, Take Post At Gun, Quick March (ออกเดินเข้าไปในที่ยิงปืน)
- เตกโปษอันดะระมะโลน = take post under ... (ประจำตำแหน่ง?)
- อินณุวะระเบาเฟ = inward about face (หันกลับเข้าหาปืนใหญ่)
- เฟิ้มเดโอดะออยฝะมาจ์ = from the order of march
- ดิตัดฉะแมนเรีย = detachment rear
- ฮอละ = halt (หยุด)
- ฮอละฟะรัน = halt, front (หยุด หันหน้ากลับ)
- เรกหายฟะเฟ กวิกมาจ์ = right half, face, quick march (เฉียงกึ่งขวาแล้วออกเดิน)
- ฟะรันเทิน = front turn
คำอื่นๆที่น่าสนใจ
- ม่อตา = Motar (ปืนครก)
- กอรสะแต้นตีนโนปะ = Constantinople (เมืองคอนสแตนติโนเปิล)
- กวีนเอเลษซิเยดป่อเกษปิศต่อละ = Queen Elizabeth's Pocket Pistol (ชื่อปืน)
- มิซินจะแอบแบดนิยุท = Messengers of Bad News ให้คำแปลว่า "คนบอกข่าวชั่ว" (ชื่อปืน)
- สะเปร โบขะลัม พรหมะ สันตา ตุสันตา = Spread both columns from center to center
- เฟิมเดโอดะออบฝะมาจ์ = From the order of march
- เรกเฟกวิกมาจ์ = Left quick march
- ดิตันฉะแมนเรีย = Detachment rear
- ฮอละฟะรัน = Halt, Front
- ฟะรันเทิน = Front turn
- ซิษสะแฟยะริง = cease firing
- อินณุวะระเบาเฟ = Inward about face
- ปัศตัน =Pistol
- มิลิตารี แอนแยน = Military engine
- พวกอะละมาน = German
- ราชจาเบกกัน = Richard Bacon
- พุทธเกษ = Portugal
- ลุอิส = Louis
ขอบคุณข้อมูลจาก 2483 Reenactment Group
0 ความคิดเห็น: